วัคซีนแมว ป้องกันโรคอะไรบ้าง ควรฉีดเมื่อไร 

วัคซีนแมว ป้องกันโรคอะไรบ้าง ควรฉีดเมื่อไร 

วัคซีนแมว คือ การดูแลแมวให้ดีเป็นสิ่งที่เจ้าของพึงกระทำอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องของการเลือกให้อาหารที่ดี การดูแลสุขอนามัยแวดล้อมให้สะอาดเพียงเท่านั้น การพาน้องแมวไปตรวจสุขภาพร่างกายและเข้ารับวัคซีนแมวก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการดูแลเอาใจใส่ที่สำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน 

วัคซีนแมว ป้องกันโรคอะไรบ้าง ควรฉีดเมื่อไร 
Credit by

การให้วัคซีนแมวจะช่วยลดและป้องกันการติดเชื้อไวรัสจากโรคต่าง ๆ ที่อาจทำให้ป่วยได้ แต่ไม่ควรเริ่มรับวัคซีนแมวเร็วเกินไป เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากนมแม่หลังคลอดจะต่อต้านกับวัคซีนแมวและไม่สร้างภูมิคุ้มกันใหม่ขึ้นมา ควรให้น้องแมวเข้ารับวัคซีนแมวในช่วงเวลาที่เหมาะสม 

อาจเป็นช่วง 2 – 3 เดือนแรกหลังคลอด ถึงพาน้องแมวเข้ารับวัคซีนเข็มแรกได้ เพราะเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่จะค่อย ๆ ลดลง รับการการได้รับภูมิคุ้มกันจากวัคซีคแมวพอดี 

โดยโรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม 

วัคซีนแมว กลุ่มที่ 1 โรคติดเชื้อหลัก 

1. โรคไข้หัด (Feline panleukopenia, Feline distemper)

มักพบในแมวเด็ก จะส่งผลต่อการทรงตัวและอาจทำให้ลูกแมวตาบอดได้ แต่หากเกิดขึ้นกับแมวโต จะมีอาหารเซื่องซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง อาเจียน ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นเลือดและมีกลิ่นคาว บางครั้งอาจมีอาการปวดช่องท้องจากการขยายตัวของลำไส้ อันเนื่องจากแก๊ซและของเหลว หากเลี้ยงแมวร่วมกันหลายตัว ควรแยกออกมาทันที เพื่อป้องการติดต่อที่อาจแพร่จากปัสสวะและอุจจาระแมวได้ 

2. โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น (Feline infectious upper respiratory tract disease)

โรคหวัดแมว หรือโรคระบบทางเดินหายใจ เกิดขึ้นจากสารคัดหลั่งจากตาและจมูก มีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ หรือเป็นมูกเขียว อาจมีเลือดออกจากการจาม โดยโรคนี้มีด้วยกัน 2 ระยะ คือระยะเฉียบพลัน ซึ่งจะแสดงอาการ 10 วันโดยประมาณ และระยะเรื้อรัง ซึ่งจะแสดงอาการมากกว่า 10 วันขึ้นไป 

3. โรคช่องปากและลิ้นอักเสบ

หนึ่งโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในแมวที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ซึ่งสาเหตุหลักเกินจากภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคมีมากหรือน้อยเกินไป น้องแมวที่ทานน้ำน้อยหรือทานอาหารเปียก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้ง่าย โดยจะแสดงอาการจากการเริ่มส่งกลิ่นเหม็น น้ำลายไหล ทานอาหารน้อยลงหรือดมเพียงอย่างเดียว น้ำหนักตัวลด ต่อมน้ำเหลืองช่วงคอบวมโต  บริเวณริมฝีปากและมุมปากเริ่มมีบาดแผล

4. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถเกิดขึ้นได้กับแมวเช่นกัน ผ่านน้ำลาย การกัด ข่วน หรือเลียบริเวณบาดแผล หาดน้องแมวติดเชื้อไว้รัสแล้วจะแสดงอาการออกมา 3 ระยะ เริ่มต้นจากอการการเซื่องซึม มีไข้ ระยะต่อมาจะมีอาการตื่นตัวง่าย กระวนกระวาย ขี้หงุดหงิด และระยะสุดท้ายเข้าสู่การเป็นอัมพาต น้ำลายไหลย้อย และอาจเสียชีวิตได้

5. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Feline leukemia virus : FeLV)

โรคลิวคีเมีย หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถติดเชื้อผ่านน้ำลายจากการเลียกันหรือกัดกันของแมว โดยไวรัสจะใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะโลหิตจาง หรืออาจเกิดเนื้องอกได้ ซึ่งจะมีอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร มีไข้ ดื่มน้ำมากจนผิดปกติ อาจพบเลือดในอุจจะระได้เช่นกัน หากมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง อาจเกิดภาวะดีซ่าน น้ำหนัก ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย

Credit by

วัคซีนแมว กลุ่มที่ 2 กลุ่มโรคติดเชื้อเสี่ยง

1. โรคเอดส์แมว (Feline Immunodeficiency Virus : FIV)

โรคเอดส์แมว หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว สามารถติดต่อจากแมวสู่แมวผ่านเลือดและน้ำลาย ที่เกิดจากการต่อสู้กันระหว่างแมว มิได้เกิดจากการมีผสมพันธุ์ต่อย่างใด โดยมากแมวเพศผู้มีโอกาสติดโรคเอดส์แมวได้มากว่าแมวเพศเมีย อาการที่มักแสดงให้เห็นคืออาการอ่อนเพลีย เบื่ออหาร ช่องปากและเหงือกอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ควรแยกน้องแมวที่ติดเชื้อออกจากตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

2. โรคช่องท้องอักเสบ (Feline infectious peritonitis : FIP)

โรคช่องท้องอักเสบ เกิดจากภาวะหลอดเลือดอักเสบ และส่งผลต่อช่องท้องอวัยวะในช่องอก ตา และรวมถึงระบบประสาทด้วย มักพบในแมวที่อายุน้อยกว่า 2 ปีและแมวแก่ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ซึ่งอาการป่วยจะแสดงอาการเชื่องซึม มีไข้สลับขึ้นลง เบื่ออาหาร มีอาการท้องป่อง หายใจหอบถี่ ม่านตาอักเสบ เดินโซเซ ขาอ่อนแรง รวมถึงอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ด้วย

Credit by
โปรแกรมวัคซีนในแมว
อายุชนิดวัคซีนครั้งที่
8สัปดาห์วัคซีนป้องกันไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ ครั้งที่ 1
11สัปดาห์วัคซีนป้องกันไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ ครั้งที่ 2
14สัปดาห์วัคซีนป้องกันไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ ครั้งที่ 3
17สัปดาห์วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งที่ 1
20สัปดาห์วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งที่ 2
1ปีกระตุ้นวัคซีนพิษสุนัขบ้า , ไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ช่องปากและลิ้นอักเสบ 

อย่างไรก็ตามการพาน้องแมวเข้ารับ วัคซีนแมว ควรได้รับการตรวจสุขภาพและการปรึกษาจากสัตวแพทย์แล้ว รวมไปถึงการตรวจสุขภาพน้องแมวเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอด้วย

Credit By www.mixactivitys.com www.petcutety.com www.ozarksfirst.biz www.comshareasale.com

Credit By : Ufabet