สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากหลาย ๆ คน ก็อาจจะมีคำตอบที่แตกต่างกันออกไปตามความรู้ที่มีของแต่ละคน บางคนก็อาจจะตอบว่า ช้าง บางคนก็อาจจะตอบ ยีราฟ หรือแม้แต่มนุษย์ก็อาจจะเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ ถ้าหากเอาความ
สามารถของสมองมาเป็นเกณฑ์ เพราะคนสามารถคิดวิเคราะห์ เป็นนักประดิษฐ์ก็ย่อมได้ แต่ถ้าหากพูดถึงขนาดตัว โดยวัดจากน้ำหนักและรูปร่างมาใช้ มนุษย์อาจจะเป็นได้แค่เศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น เพราะสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่แท้จริงนั้น
คือ ปลาวาฬสีน้ำเงิน ที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดมานานมากกว่า 25 ล้านปีแล้ว หรือ หนักประมาณช้าง 33 ตัวเลยทีเดียว จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อมันโตเต็มวัย

ปลาวาฬสีน้ำเงินหรือ The Antarctic blue whale มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Balaenoptera musculus มาจากภาษาละติน แปลว่าวาฬ และ Pteron มาจากภาษากรีกโบราณแปลว่า ครีบ วาฬสีน้ำเงินไม่ใช่ปลา แต่นิยมเรียกกันว่าปลาเพราะมี
รูปร่างคล้าย และอาศัยอยู่ในน้ำเป็นหลัก ซึ่งความจริงมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักมากถึง 200 ตัน สามารถยาวเต็มที่ 30 เมตร ขนาดหัวใจของวาฬสีน้ำเงินมีขนาดเท่ารถยนต์คันเล็กหนึ่งคัน แค่เฉพาะ
ลิ้นของมันก็มีน้ำหนักเทียบเท่ากับช้างหนึ่งตัว โดยวาฬสีน้ำเงินสามารถมีอายุขัยได้ยาวนานประมาณ 70-90 ปีเลยทีเดียว ลักษณะภายนอกลำตัวของปลาวาฬสีน้ำเงินจะมีความเพรียวยาว สวยงาม สะดุดตา ส่วนหัวกว้างคล้ายตัวยูของ
วาฬสีน้ำเงินทำให้เป็นที่จดจำได้ง่าย ด้านหลังจะมีสีน้ำเงินเทา ส่วนท้องของมันจะมีสีจางกว่าเล็กน้อย ร่องใต้คางที่ใช้หดขยายช่องปากอัตโนมัติเมื่อต้องกินอาหารจำนวน 60-88 ร่องที่ยาวไปจนถึงสะดือ ทำให้มันสามารถกินตัวเคย และ
สัตว์น้ำเล็ก ๆ ได้ทีละหลายพันกิโลกรัมได้อย่างง่ายดาย

ปลาวาฬสีน้ำเงิน และการกินอาหารของมัน
การกินระหว่างช่วงฤดูกินอาหาร ปลาวาฬสีน้ำเงินสามารถกินตัวเคย สัตว์น้ำตัวจิ๋วได้มากถึง 3,600 กิโลกรัมต่อวัน และยังถือว่าเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงในลักษณะคลื่นเสียงได้ดังและไกลที่สุดในโลกอีกด้วย อาจพูดได้ว่าดังราว ๆ 188 เดซิเบล ในขณะที่มนุษย์เวลาพูดคุยแบบปกติจะใช้เสียงอยู่ที่ 60 เดซิเบลเท่านั้น คลื่นเสียงของปลาวาฬสีน้ำเงินจึงถือเป็นอันตรายต่อ แก้วหูของมนุษย์มากทีเดียว โดยประโยชน์ของคลื่นเสียงนั้นเพื่อสื่อสารใต้น้ำ ช่วยในการหาคู่ นำทางใต้น้ำ หาอาหาร หลีกเลี่ยงนักล่า หรือเมื่อมันอยากข่มขู่ตัวอื่น ๆ โดยสามารถที่จะได้ยินไกลถึง 100 กว่าไมล์เลยทีเดียว ทั้งนี้สามารถพบเห็นวาฬสีน้ำเงินได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอนตาร์กติกา บางกลุ่มอยู่ประจำถิ่น แต่บางกลุ่มก็ใช้ชีวิตด้วยการอพยพไปเรื่อย ๆ เพื่อหาอาหาร และการผสมพันธุ์ ประเทศไทยเคยพบ วาฬสีน้ำเงิน บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา เมื่อปี 2553 และพบเกยตื้นเพียงครั้งเดียวที่บริเวณเกาะลิบง จ.ตรัง เมื่อปี 2556 และพบครั้งล่าสุดที่เกาะสิมิลัน ในปี 2560 ถือเป็นการพบในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3

สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปลาวาฬสีน้ำเงิน และพฤติกรรมที่น่าสนใจ
- การพุ่งตัวขึ้นเหนือน้ำ โดยการว่ายน้ำไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วแล้วโค้งตัวให้พ้นผิวน้ำ บิดลำตัวและทิ้งตัวลงอย่างสวยงามราวกับไร้น้ำหนัก โดยเอาส่วนหัวหรือด้านลำตัวลงก่อน
- การกินอาหารแบบ Lunge Feeding โดยพุ่งส่วนหัวขึ้นมาเหนือน้ำ แล้วทิ้งขากรรไกรล่างลงที่ผิวน้ำและฮุบเหยื่อ 1 ครั้งหรือหลาย ๆ ครั้งแล้วจกตัวลงให้น้ำไหลผ่านซี่กรองและกลืนอาหารลงท้อง จากนั้นจะขึ้นมาหายใจแล้วกินต่อจนอิ่ม
- การตีหาง ใช้เมื่อต้องการหาอาหาร ส่งสัญญาณหรือสื่อสาร โดยการแพนหางตีน้ำจากด้านล่างหรือด้านข้าง ตีน้ำ 1 ครั้งหรือหลายครั้ง และสามารถพบพฤติกรรมการใช้หางตีน้ำเกิดขึ้นร่วมกับการพุ่งตัวเหนือน้ำ
- การกินอาหารแบบตะแคง Side Feeding เป็นการกินอาหารอีกรูปแบบโดยการอ้าปากตะแคงไปกับผิวน้ำ มักพบในน้ำตื้นประมาณ 4 – 5 เมตรและกินเหยื่อที่ว่ายน้ำเร็ว
- การดักจับเหยื่อโดยใช้ฟองอากาศ หรือที่เรียกว่า Bubble-net feeding เป็นวิธีการที่ปลาวาฬสีน้ำเงินช่วยกันพ่นฟองอากาศเป็นวงกลมล้อมรอบฝูงปลาหรือเหยื่อที่เป็นเป้าหมายเอาไว้ ฟองอากาศดังกล่าวจะทำหน้าที่คล้ายตาข่ายที่ดักฝูงปลาเอาไว้ให้อยู่กันในวง เพื่อกินปลาได้ทีละหลาย ๆ ตัวพร้อมกันในคราวเดียว
ปลาวาฬสีน้ำเงิน เกือบจะสูญพันธุ์
ในช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา วาฬสีน้ำเงินถูกล่าจนเกือบจะสูญพันธุ์ สาเหตุของการล่าวาฬ คือ ความต้องการน้ำมันของวาฬ และการล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร แต่ในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เริ่มมีการปกป้องวาฬสีน้ำเงินอย่างจริงจัง และในปี 1986 คณะกรรมการควบคุมการล่าวาฬนานาชาติ (International Whaling Commission) หรือ IWC ได้สั่งห้ามการล่าวาฬในเชิงพาณิชย์ทำให้ความต้องการน้ำมันวาฬลดลง ทั้งนี้ได้มีนักสำรวจคาดว่าปัจจุบันยังมีปลาวาฬสีน้ำเงินในซีกโลกใต้เหลืออยู่ประมาณ 2,300 ตัว ทั้งมีหลักฐานที่คาดว่าจำนวนวาฬสีน้ำเงินยังเพิ่มขึ้นอย่างทรงตัว คือประมาณปีละ 7% ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจแต่ยังคงต้องเฝ้าระวัง เพราะเมื่อก่อนมีปลาวาฬสีน้ำเงินมากถึง 300,000 ตัว แต่ปัจจุบันเหลือเพียงหลักพันเท่านั้น ทั้งนี้เพศเมีย สามารถให้กำเนิดลูกเพียงสองหรือสามปีต่อหนึ่งครั้งเท่านั้น
Credit by : ทางเข้า Ufabet Ufabet Ufabet เว็บหลัก สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์